วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา PC54505
(Innovation, Technology and Information in Education)
อาจารย์ผู้สอน
ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี
นวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง
การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล
การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ
สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้
1. อธิบายความหมาย
ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยีและ สารสนเทศทางการศึกษาได้
2. อธิบายบทบาท
คุณค่า ประเภท และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้
3. อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม
และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน
5. บอกความหมาย
ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้
การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้
6. วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม
เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้
7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
8. ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาได้
9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี
และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้
10. ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาได้
11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี
และสารสนเทศทางการศึกษาได้
12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมาย ความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและ สารสนเทศการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
หน่วยการเรียนที่ 5 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)
หน่วยการเรียนที่ 8 หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย
(Multi-Media)
หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or
Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online
Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน
39% - 79%
2. เทคนิควิธีสอน
2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
- การซักถาม
- การอภิปราย
- การทำแบบฝึกหัด
- การแสดงผลงาน
การบูรณาการกับความพอเพียง
1) ความมีเหตุผล
2) ความพอประมาณ
3) ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
- เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ
ระมัดระวัง
- เงื่อนไขคุณธรรม : ซื่อสัตย์ แบ่งปัน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์
โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
-
ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
-
มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
-
ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
- ใฝ่ดี ใฝ่รู้
สู้งาน
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
- สุภาพ เสรีภาพ
อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น
แหล่งเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. อินเตอร์เน็ต
3. เอกสารประกอบการสอน
4. ตัวอย่างเว็บบล็อก
5. สื่อของจริง ของตัวอย่าง
เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ (competency) อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล
ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ
และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
การจัดการเรียนการสอน วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู ในภาคเรียนที่ 1/2556 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม
โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ
ดังนี้
ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์
1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากกความหวาดระแวง
6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง
ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข
ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย
ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง
ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน
มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต